Skip to content

Posts tagged ‘logistics’

แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย


ท่านคณบดี ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ได้สอบถาม (ทาง Line group ของคณะฯ) ผมว่า มีแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยอย่างไรบ้าง?

ผมตอบไปดังนี้ครับ

Dean Pisit: For logistic discipline followers, Thailand should adopt a KPI to reduce our cost and time to the level of Singapore.

Ajarn Champ:
I think the Ministry of Industry is now trying to implement the World Bank approach of Logistics Performance Indicator (LPI) in Thailand.
Sadly the main target they aim is only to reduce logistics cost, which is only one side of more than 10 aspects in logistics decision making.

Dean Pisit: Pls show me so i could find a way to bring it forward.

Pairach: yes, sir
Screen Shot 2558-04-09 at 11.14.47 AM
Pairach: This is the recent finding of the global Logistics performance at the macro level
Pairach: The logistics performance (LPI) is the weighted average of the country scores on the six key dimensions:
1) Efficiency of the clearance process (i.e., speed, simplicity and predictability of formalities) by border control agencies, including customs;

2) Quality of trade and transport related infrastructure (e.g., ports, railroads, roads, information technology);

3) Ease of arranging competitively priced shipments;

4) Competence and quality of logistics services (e.g., transport operators, customs brokers);

5) Ability to track and trace consignments;

6) Timeliness of shipments in reaching destination within the scheduled or expected delivery time.
Pairach: http://lpi.worldbank.org/international/global

Screen Shot 2558-04-09 at 11.16.29 AM

Pairach: The performance of Thailand since 2007 – 2014 has no significant improvement krub
Pairach: Pairach Still lag behind not only Singapore but does Malaysia
Pairach: Thailand vs Singapore vs Malyasia vs Vietnam in 2014

Screen Shot 2558-04-09 at 11.18.10 AM
Pairach: Clearly show that we are the number 3 in ASEAN.
Pairach: Vietnam is only their way to beat us, similar to what Malaysia did.
Screen Shot 2558-04-09 at 11.19.29 AM
Pairach: Singapore is the best in infrastructure at the global level. In ASEAN Singapore is the best in all aspects. Comparing Thaialnd vs Malaysia, Thailand is slightly better than Malaysia only in “Timeliness”. Big issue for Thailand is custom clearance and logistics competence (Human resource issue). Ability to manage and handle logistics properly is what Thailand missing.
Screen Shot 2558-04-09 at 11.26.18 AM
Pairach: Now Thailand ranked NO 35
Pairach: To move up the the top tier, National data tools and Green logistics are important.

Dean Pisit: We should use this sort of ranking to challenge the Ministry and Salary could be adjusted accordingly.

Pairach: Could not agree more
Pairach: I believe they know but it’s very difficult to meet this KPI.
Pairach: Reducing Average logistics costs is easier, but not the ultimate answer.

Dean Pisit:  If proper incentive is put in place, there could be guided to work hard.

Pairach: To the best of my knowledge, the ministry of Industry still struggle to measure the impacts of their activities and project on the logistics cost at the national level.
Pairach: Agree on using incentive to push the private sector to develop their logistics competence, not just only the cost.
Pairach: Perhaps could be integrated in the agency like BOI.
Pairach: At the international level, one recent finding by WEF show that “reducing the international supply chain barriers” performs better than “reducing tariff” 7 times in term of GDP growth.
Dean Pisit:  Let international rating be the standard.
Screen Shot 2558-04-09 at 11.41.46 AM
Pairach: Here are the supply chain barriers we should reduce across the border and port krub.
Pairach: The following is the comparing the effects of “Reducing supply chain barriers” vs “reducing tariffs” on GDP growth krub.
Screen Shot 2558-04-09 at 11.42.59 AM
Pairach: However the effects could vary in different regions.

Screen Shot 2558-04-09 at 11.44.09 AM
Pairach: With simulation, ASEAN could gain 12% Export and 18% import growth by reducing supply chain barrier. Also we hardly compete to Singapore in terms of logistics cost because we have different logistics system support ting different product type. We are export more agricultural products much more than Singapore. However, we can develop value creation process in the supply chain, for example transformed agricultural products such as fresh longan into not just dried longan but things like snack or drink or even medical proucts like Longanoid cream (for joint problems). That’s my opinions.

Infographic of the History of Logistics & Supply Chain Management by BenSCM


 

 

history-of-logistics-and-supply-chain-management

This morning I have found a nice infographic that illustrates the history of logistics and supply chain management. This graphic states important discovery in the field e.g., Lean thinking, Bullwhip effect. Highly recommend for logistics and SCM  academics and also practitioners. There are reference s at the bottom of the graphic that you may discover more. Thanks Ben for such a nice effort on this cool infographic.

Source: SCM-Operations.com

Student and Young Professionals Event – CILT by


 

by Giles Fearnley FCILT, Managing Director, First UK Bus
11 October 2011 

Giles Fearnley has a strong track record in the bus and rail industries, and is currently Managing Director First UK Bus. In 1991 he led the management buy-out of Blazefield Holdings which operated bus networks principally across Yorkshire and Lancashire. He remained as Chief Executive for two years following the group’s sale to Transdev plc in 2006. As one of the founders of Prism Rail plc, which operated four passenger rail franchises in the UK, he was appointed Chief Executive in 1997 and led the group prior to its sale in 2000. Most recently he was Chairman of Grand Central, the open access rail operator running trains from Sunderland to London and was the first ever Chairman of the Confederation of Passenger Transport (CILT website).

  • Transport is recognised as the heart of economy.
  • Transport is never out of the headline e.g., highway issues, snow, budget cuts
  • Transport is a very big industry, lots of employment in both passenger and freight sides.
  • Transport does make different e.g., airport, highway and the economy
  • He got involved with the transport as the rep in the council when he was a student.
  • 1972 joined the institute
  • CILT membership shows not only qualifications, exam but also the real interests in the field.
  • For international students, CILT (UK) membership can be transfered to the International one or being in both when they return to their home country.

การจัดการโลจิสติกส์ สำหรับการท่องเที่ยว: อะไร ทำไม และอย่างไร


ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์
20 พฤศจิกายน 2552

เวลาผมนำเสนองานวิทยานิพนธ์ทีไร จะต้องมีคำถามจาก อาจารย์และนักวิชาการทั้งสายโลจิสติกส์และสายท่องเที่ยวว่า
“ทำไมท่องเที่ยวต้องสนใจโลจิสติกส์?” หรือ “ท่องเที่ยวของเชียงใหม่มีปัญหาโลจิสติกส์จริงเหรอ?”

จริงๆ แล้วงานวิจัยก็มาจากปัญหาที่เรายังตอบไม่ได้ จึงต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อหาคำตอบที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามหลายๆ คำถาม ก็ไม่ต้องทำวิจัย เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางไหน?  หรือ นักท่องเที่ยวที่รวยจะใช้จ่ายเงินมากกว่าคนที่มีรายได้น้อยกว่า (โดยเฉลี่ย) หรือไม่ เพราะทั้งสองคำถามต่างก็รู้คำตอบกันอยู่แล้ว

ในกรณีของโลจิสติกส์นั้นเป็นทีรู้กันว่าสำคัญต่อการผลิตอย่างมากเนื่องจากมีต้นทุนหลายๆ อย่างเช่น การขนส่ง การจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อ ฯลฯ ที่สามารถลดลงได้กว่าครึ่ง เพียงแค่มีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดี อันนี้ไม่มีข้อสงสัยใดๆ

สำหรับธุรกิจค้าปลีกโลจิสติกส์ก็สำคัญมาก นอกเหนือไปจากต้นทุนทั้งหลายที่คล้ายๆ กับการผลิตแล้ว ยังมี ต้นทุนที่เรียกว่าต้นทุนที่เกิดจากการที่ “ของขาด” หรือ “ของเหลือ”

ของขาด คือ ลูกค้ามาที่ร้านแล้วไม่เจอของที่อยากได้ หรือ ไม่พอที่ต้องการ

ของเหลือคือ ในร้านเรามีของที่ค้างอยู่ที่ชั้นเยอะ ขายไม่ออกสักที

ของขาด ทำให้เสียรายได้ที่ควรจะได้ในระยะสั้น ในระยะยาวก็อาจเสียลูกค้าได้ เนื่องจาก ลูกค้าหนีไปร้านอื่นที่มีของแทน

ของเหลือ ทำให้เสียรายได้เนื่องจาก แทนที่จะเอามาวางของที่ขายได้แทน หรือ ของที่ขายไม่ออกเน่าเสีย หรือตกยุค กลายเป็นต้นทุนจมไป

ระะบบโลจิสติกส์ที่ดีจะสามารถกำหนดได้ว่าสินค้าอะไรบ้างที่ควาจะมาวางบนชั้น เมื่อไหร่ เป็นจำนวนเท่าใด และ ขายในเวลาไหน ควรลดราคาเท่าไหร่เมื่อใด และควรจะสั่งสินค้ามาทดทนเท่าไหร่ อย่างไร เมื่อใด ให้ส่งมาทางไหน ส่งมาจากไหน ส่งมาจากใคร ส่งมาแล้วให้ไปเก็บไว้ก่อนหรือไม่ เก็บไว้ที่ไหน เท่าไหร่ อย่างไร

… แล้วโลจิสติกส์ของการท่องเที่ยวหล่ะ?

สำหรับการท่องเที่ยว นั้น ไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าเท่านั้นแต่ว่ามีการเคลื่อนย้ายลูกค้า (ผู้บริโภค หรือ นักท่องเที่ยว) ด้วย ดังนั้นโลจิสติกส์ของการท่องเที่ยวนั้นมีปัญหาทุกอย่างที่เกิดใน การผลิต และ การค้าปลีก แถมยังปัญหาเกี่ยวกับการบริการเข้ามาด้วย นี่คือฝั่งผู้ให้บริการอย่างเดียวเท่านั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่ นักวิชาการโลจิสติกส์ให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น

อีกฝั่งก็คือการเคลื่อนย้ายลูกค้า (ซึ่งกว้างกว่าการขนส่งผู้โดยสาร) ที่คาร์ดิฟสนใจเรื่องโลจิสติกส์ของโรงพยาบาลอย่างมาก ที่มาคือมีนักวิจัยไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแล้วหงุดหงิดใจกับระบบของโรงพยาบาล

จนกลายเป็นโครงการวิจัยใหญ่ของประเทศไปเลย ยกตัวอย่าง เช่น งานของกลุ่มวิจัยเรื่อง Lean (มาจากระบบของ Toyota) ที่คาร์ดิฟศึกษาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยใน รพ.

อย่างไรก็ตามสำหรับการท่องเที่ยวนั้น นักท่องเที่ยวไม่ใช่แค่เดินไปเดินมาในโรงแรม (หากเทียบกับ ผู้ป่วย ใน โรงพยาบาล) หรือ เดินในงานพืชสวนโลก แต่ว่าตั้งแต่ออกจากบ้านก็ผ่านการเดินทางหลากหลายรูปแบบ ความต้องการก็ไม่แน่นอน

คนป่วยที่คาร์ดิฟหากฉุกเฉินโทรเรียกรถฉุกเฉินของรพ. แล้วก็รอแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่มาตรวจแล้วก็ทำตามขั้นตอนมาตรฐานผู้ป่วยและญาติก็เชื่อฟังด้วยความเต็มใจ บอกให้ทำอะไรก็ทำ (ถ้าอยากจะรอด)

ทว่าการท่องเที่ยวไม่ใช่แบบนั้น… เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นงานบริการที่เรื่องมากที่สุด บริการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวแบบไหนก็เรื่องมากหมด จะนอนโรงแรมห้าดาวอย่าง “ดาราเทวี” หรือจะนอนวัดก็เรื่องมากทั้งนั้น… แต่เรืองมากคนละแบบ ต้องการคนละอย่าง … เรื่องนี้คนโรงแรมรู้ดี ไม่เท่านั้น คนป่วย มีประวัติการรักษา แพทย์ พยาบาลดูประวัติแล้วก็วินิจฉัยได้เลย

อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวไม่ใช่แบบนั้นไปซะหมด ยิ่งปัจจุบัน เราพบว่านักท่องเที่ยวคนเดียวกันมีหลายหน้า หมายถึงคนๆ เดียวท่องเที่ยวหลายแบบ แล้วแต่ปัจจัยหลายประการ

ยกตัวอย่างใกล้ตัว ผมเอง เวลาที่อยู่กับ อ.มิ่งสรรพ์ ไปประชุมวิชาการ พักโรงแรมที่ค่อนข้างดี แต่ตอนนี้มาเรียนเองแล้วไม่มีทุนวิจัยสนับสนุนมากมาย

ไปประชุมคราวนี้ก็ต้องนอนหอ นศ. เก่าๆ ห้องน้ำรวม แต่ผมคนเดิมอีก เดือนหน้าไปเสนองานที่ภูเก็ตสองคืนแรกพักสามดาว (เบิกได้) อีกสามคืนอยู่ต่อเองเพื่ิอทำงานวิจัยก็เปลี่ยนไปอยู่สองดาว…

ดูเหมือนว่าเรื่องเงินสำคัญ…

มาดูอีก… ผมคนเดิม กลับมาทำวิจัยคราวนี้เบิกที่คาร์ดิฟเรื่องเดินทางได้เต็มที่ ขาที่ต่อเครื่องมาจากสุวรรณภูมิก็การบินไทย ไปภูเก็ตก็การบินไทยจาก เชียงใหม่ กรุงเทพ แล้วก็ภูเก็ต แต่ขาจากภูเก็ตมาเชียงใหม่ใช้ Air Asia เพราะมีเที่ยวตรง (ไม่เกี่ยวกับราคาเลย เกี่ยวกับลักษณะของบริการที่เหมาะสม) เดี๋ยวถ้าไปดูซีเกมส์ที่เวียงจันทน์ก็อาจจะไปกับการบินลาวก็ได้ เพราะออกจากเชียงใหม่ได้แวะหลวงพระบางก่อน แล้วต่อไปวังเวียงแบบรถคิวถูกๆ เพราะสนุกดี ให้เพื่อนมารับไปเวียงจันทน์ ต่อรถไฟเองไปลงหนองคาย อุดรฯ แล้วก็เชียงใหม่ แผนสามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ

การท่องเที่ยวนั้นเรื่องมาก และ ลูกค้าเอาแต่ใจสูง ทีนี้ ทำไมโลจิสติกส์สำคัญในการท่องเที่ยวในระยะสั้นเอกชนสามารถลดต้นทุนได้ ทั้งจากการที่สามารถจัดการการเตรียมของไว้บริการได้เพียงพอในราคาี่ถูกที่สุด เนื้อหมูไม่ขาด เบียร์มีพร้อม สาวเชียร์เบียร์มาครบ แก้ว จาน ชาม สะอาด เรียบร้อยมีพร้อมใช้งาน และที่สำคัญของพวกนี้ไม่มีอะไรที่มีอยู่เกินความจำเป็น

ในระยะยาว ผู้ให้บริการแก่ลูกค้าได้ตรงตามความต้องการก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า มาใช้บริการเรื่อยๆ ไม่ใช่ ตีหัวเข้าบ้าน เน้นเอาถูกแต่คุณภาพไม่ดีพอ หรือ ดันไปให้อะไรที่ลูกค้าไม่ต้องการแต่ละเลยสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ เช่น ลูกค้าเป็นชาวญี่ปุ่นมาอยู่หลังวัยเกษียณแต่ห้องน้ำไม่มีอ่าง แต่ดันมีมุมทำงานที่มีอุปกรณ์ครบครัน

อีกตัวอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์ราคากับคุณภาพที่ผมชอบพูดคือ ปรากฎการณ์ปาท่องโก๋ … (ถ้าอยากฟังต่อกดที่ Link เลยครับ)

ปรับปรุงจาก TourismLogistics.com
บทความ ทำไมต้องสนใจการจัดการโลจิสติกส์ในการท่องเที่ยว?

หิมะ กับ การท่องเที่ยว และ Logistics


คัดมาจาก TourismLogistics.com
URL=http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=138:avalanche-effect-tourism-logistics&catid=65:remarkable-incidents&Itemid=77

Bluebird perspectives

11 กุมภาพันธ์ 2552

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (พายุ) หิมะได้ถล่มสหราชอาณาจักร (UK) โดยเฉพาะอังกฤษอย่างหนัก

ที่เวลส์เองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โรงเรียนต้องปิดทำการเรียนการสอนไปสองสามวัน สำนักข่าวบีบีซีได้ประเมินความเสียหายทางธุรกิจไว้ประมาณหนึ่งพันล้านปอนด์ และแน่นอนว่ามีเรื่องของการท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วย

หิมะซึ่งตกหนักมากที่สุดในรอบ 18 ปีนั้น ทำให้ระบบลอจิสติกส์การท่องเที่ยว (Tourism Logistics Systems) ของถิ่นผู้ดีได้รับผลกระทบไปไม่น้อย การรถไฟต้องหยุดดำเนินการไปหลายสายโดยเฉพาะเส้นทางเข้าสู่ลอนดอน และแน่นอนสนามบิน Heathrow ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน หลายๆ เที่ยวบินต้องไปลงจอดที่ Cardiff หรือ Manchester ก่อน การเดินทางตามถนนหนทางก็ได้รับการกระทบ โดยเฉพาะสะพานที่เชื่อมจาก Wales (Cardiff) สู่อังกฤษนั้นก็ต้องปิดการใช้งานเนื่องจากก้อนหิมะที่เกาะตามสะพานอาจตกมาทำลายรถโดยสารได้ สภาพถนนบนสะพานที่ลื่นมากก็ไม่ปลอดภัยพอที่จะใช้งานได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามสำหรับสนามบิน Heathrow นั้นก็สามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้ภายในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นฮับ (Hub) ของ Heathrow เองทำให้ทรัพยากรพร้อมที่จะกลับมาดำเนินการตามระบบปกติได้ทันที คุณสมบัตินี้ทางลอจิสติกส์เรียกว่า Resilience คือเมื่อระบบได้รับการกระทบกระเทือนจากปัจจัยที่ไม่ได้คาดคิด (กรณีนี้คือหิมะ) แล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ว

ผมเองก็มีส่วนร่วมในมูลค่าความเสียหายกว่าพันล้านปอนด์นั้นด้วย เนื่องจากมีแผนตามไปเชียร์ Cardiff City ที่สนาม Emirate Stadium ของสโมสรฟุตบอล Arsenal ที่ London ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ทว่าหิมะที่ตกหนักนี่เองทำให้การแข่งขันต้องเลื่อนออกไป แน่นอนว่าตั๋วรถไฟที่จองไว้ก็ไม่สามารถใช้ได้อีกเนื่องจากเป็นตั๋วราคาถูก แถมวันที่เลื่อนไปแข่งก็ไม่สามารถไปเดินทางไปชมได้อีก แต่บัตรชม FA cup replay นั้นยังสามารถขอคืนเงินได้ แต่เราต้องเสียค่าส่งไปรษณีย์แบบพิเศษ (Express delivery guaranteed next day) ซึ่งแพงมาก เพื่อรับประกันในกรณีที่ไม่สามารถส่งคืนบัตรได้ทัน หรือ เกิดการสูญหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งไปรษณีย์พิเศษนี้จะรับประกันความเสียหายได้ถึง 500 ปอนด์

สรุปแล้วในพันล้านปอนด์มีเงินของผมอยู่ประมาณเกือบห้าสิบปอนด์

เมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิด logistics แล้ว ลูกค้าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง (Disruption) โดยเฉพาะผมที่ตัดสินใจคืนตั๋ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อในอนาคต (Future demand) อย่างชัดเจน ผมคงไม่ซื้อตั๋วเพื่อไปชมนัดที่แข่งนอก Cardiff อีก เพราะความเสี่ยงที่จะเสียเงินฟรีนั้นค่อนข้างสูงแม้บัตรชมฟุตบอลจะสามารถคืนได้แต่ค่าเดินทางไม่สามารถคืนได้ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของลูกค้า?

ในการแก้ไขปัญหา สโมสรฟุตบอล หรือ สมาคมฟุตบอลควรจะมีการร่วมมือกับทาง National Express ที่ให้บริการทั้งรถ Coach และรถไฟ ในการขอคืนตั๋วหรือเลื่อนตั๋วได้ ในกรณีที่มีการเลื่อนการแข่งขัน

อีกด้านหนึ่ง ในเวลาปกติก็สามารถร่วมมือกันได้โดยขายบัตรชมฟุตบอลไปพร้อมกับตั๋วเดินทาง เพราะแฟนบอลส่วนใหญ่มักชอบเดินทางไปด้วยกัน และจริงๆ แล้ว National Express ก็มีการเดินรถเที่ยวพิเศษสำหรับฟุตบอลหรือกิจกรรมใหญ่ๆ ที่จัดที่สนาม Wembley ใน London อยู่แล้ว ดังนั้นการขยายโอกาสแบบนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องยากแน่นอน

ประเด็นเรื่องการร่วมมือกันในระบบ Logistics หรือ Supply chains หรือที่เรียกว่า Collaboration นั้นมีความสำคัญอย่างมาก การท่องเที่ยวของไทยเราก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอยู่บ่อยๆ เช่นกัน ดังนั้น Tourism supply chain management ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรครั้งนี้จึงจะทวีบทบาทความสำคัญขึ้นเป็นอย่างมากในการจะทำให้การท่องเที่ยวไทยมีความเจริญและยั่งยืนได้ในระยะยาว ?

%d bloggers like this: