หิมะ กับ การท่องเที่ยว และ Logistics
คัดมาจาก TourismLogistics.com
URL=http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=138:avalanche-effect-tourism-logistics&catid=65:remarkable-incidents&Itemid=77
Bluebird perspectives
11 กุมภาพันธ์ 2552
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (พายุ) หิมะได้ถล่มสหราชอาณาจักร (UK) โดยเฉพาะอังกฤษอย่างหนัก
ที่เวลส์เองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โรงเรียนต้องปิดทำการเรียนการสอนไปสองสามวัน สำนักข่าวบีบีซีได้ประเมินความเสียหายทางธุรกิจไว้ประมาณหนึ่งพันล้านปอนด์ และแน่นอนว่ามีเรื่องของการท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วย
หิมะซึ่งตกหนักมากที่สุดในรอบ 18 ปีนั้น ทำให้ระบบลอจิสติกส์การท่องเที่ยว (Tourism Logistics Systems) ของถิ่นผู้ดีได้รับผลกระทบไปไม่น้อย การรถไฟต้องหยุดดำเนินการไปหลายสายโดยเฉพาะเส้นทางเข้าสู่ลอนดอน และแน่นอนสนามบิน Heathrow ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน หลายๆ เที่ยวบินต้องไปลงจอดที่ Cardiff หรือ Manchester ก่อน การเดินทางตามถนนหนทางก็ได้รับการกระทบ โดยเฉพาะสะพานที่เชื่อมจาก Wales (Cardiff) สู่อังกฤษนั้นก็ต้องปิดการใช้งานเนื่องจากก้อนหิมะที่เกาะตามสะพานอาจตกมาทำลายรถโดยสารได้ สภาพถนนบนสะพานที่ลื่นมากก็ไม่ปลอดภัยพอที่จะใช้งานได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามสำหรับสนามบิน Heathrow นั้นก็สามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้ภายในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นฮับ (Hub) ของ Heathrow เองทำให้ทรัพยากรพร้อมที่จะกลับมาดำเนินการตามระบบปกติได้ทันที คุณสมบัตินี้ทางลอจิสติกส์เรียกว่า Resilience คือเมื่อระบบได้รับการกระทบกระเทือนจากปัจจัยที่ไม่ได้คาดคิด (กรณีนี้คือหิมะ) แล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ว
ผมเองก็มีส่วนร่วมในมูลค่าความเสียหายกว่าพันล้านปอนด์นั้นด้วย เนื่องจากมีแผนตามไปเชียร์ Cardiff City ที่สนาม Emirate Stadium ของสโมสรฟุตบอล Arsenal ที่ London ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ทว่าหิมะที่ตกหนักนี่เองทำให้การแข่งขันต้องเลื่อนออกไป แน่นอนว่าตั๋วรถไฟที่จองไว้ก็ไม่สามารถใช้ได้อีกเนื่องจากเป็นตั๋วราคาถูก แถมวันที่เลื่อนไปแข่งก็ไม่สามารถไปเดินทางไปชมได้อีก แต่บัตรชม FA cup replay นั้นยังสามารถขอคืนเงินได้ แต่เราต้องเสียค่าส่งไปรษณีย์แบบพิเศษ (Express delivery guaranteed next day) ซึ่งแพงมาก เพื่อรับประกันในกรณีที่ไม่สามารถส่งคืนบัตรได้ทัน หรือ เกิดการสูญหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งไปรษณีย์พิเศษนี้จะรับประกันความเสียหายได้ถึง 500 ปอนด์
สรุปแล้วในพันล้านปอนด์มีเงินของผมอยู่ประมาณเกือบห้าสิบปอนด์
เมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิด logistics แล้ว ลูกค้าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง (Disruption) โดยเฉพาะผมที่ตัดสินใจคืนตั๋ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อในอนาคต (Future demand) อย่างชัดเจน ผมคงไม่ซื้อตั๋วเพื่อไปชมนัดที่แข่งนอก Cardiff อีก เพราะความเสี่ยงที่จะเสียเงินฟรีนั้นค่อนข้างสูงแม้บัตรชมฟุตบอลจะสามารถคืนได้แต่ค่าเดินทางไม่สามารถคืนได้ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของลูกค้า?
ในการแก้ไขปัญหา สโมสรฟุตบอล หรือ สมาคมฟุตบอลควรจะมีการร่วมมือกับทาง National Express ที่ให้บริการทั้งรถ Coach และรถไฟ ในการขอคืนตั๋วหรือเลื่อนตั๋วได้ ในกรณีที่มีการเลื่อนการแข่งขัน
อีกด้านหนึ่ง ในเวลาปกติก็สามารถร่วมมือกันได้โดยขายบัตรชมฟุตบอลไปพร้อมกับตั๋วเดินทาง เพราะแฟนบอลส่วนใหญ่มักชอบเดินทางไปด้วยกัน และจริงๆ แล้ว National Express ก็มีการเดินรถเที่ยวพิเศษสำหรับฟุตบอลหรือกิจกรรมใหญ่ๆ ที่จัดที่สนาม Wembley ใน London อยู่แล้ว ดังนั้นการขยายโอกาสแบบนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องยากแน่นอน
ประเด็นเรื่องการร่วมมือกันในระบบ Logistics หรือ Supply chains หรือที่เรียกว่า Collaboration นั้นมีความสำคัญอย่างมาก การท่องเที่ยวของไทยเราก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอยู่บ่อยๆ เช่นกัน ดังนั้น Tourism supply chain management ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรครั้งนี้จึงจะทวีบทบาทความสำคัญขึ้นเป็นอย่างมากในการจะทำให้การท่องเที่ยวไทยมีความเจริญและยั่งยืนได้ในระยะยาว ?
Yeah!! >v<