Skip to content

Posts from the ‘Featured’ Category

ใครดังสุดในโลก K Pop โซเชียล ?


Data Science เผย
ข้อมูล ณ 31 พค 60 23:32 แสดงให้เห็นว่า วง TWICE มีคนสนใจมากกว่า Psy BigBang EXO และ Black Pink ทั้งใน YouTube และ NAVER

ถือเป็น Social Hearing ที่นำมาใช้กับวงการบันเทิง K-pop เพื่อให้ค่าเพลงสามารถความนิยมของศิลปินแบบ Real Time ได้เลย และ ลูกค้าที่อยากจ้างมาเป็น Presenter ก็สามารถ Check Rating ได้เลย

KPop Artists

Originally Published on: TangibleVitz

TangibleVitz visualizes the K-Pop industry, giving a bird’s-eye view of the top four Agencies and their Artists.

On the left-side legend panel, click on an Agency to see its financial details and pool of artists. Clicking on the pictograms below highlights the solo artists vs bands. Highlight by gender using the grey color legend.

 
twice analytics
 
 
ข้อมูลจะ update ทุก 30 นาทีตามภาพด้านล่างนี้
K-Pop Artists

Servitization – บริการภิวัฒน์: เส้นทางสู่ชัยชนะ หรือ หายนะ ?


สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายของ Prof.Scot Sampson ผู้เชี่ยวชาญด้าน โซ่อุปทานการบริการ แห่ง BYU Marriott Management School ซึ่งจัดโดย Advanced Institute of Management (AIM) Research ที่ Cardiff Business School นี่เอง

การบรรยายแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก อย่างแรกเกี่ยวกับคำจำกัดความของ Service และ Service Operations/Supply chains และอีกส่วนเป็นการนำเสนอเครื่องมือในการวิเคราะห์ Service supply chain ที่เรียกว่า PCN ซึ่งย่อมาจาก Process Chain Network

ส่วนแรกถือว่าสำคัญมากเพราะ service หรือ การบริการนั้น ยังไม่มีนิยามหลักที่ใช้กันทั่วไปในวงการโซ่อุปทาน ส่วนใหญ่จะใช้คุณสมบัติว่าบริการควรเป็นอย่างไร เช่น เป็นนามธรรม เปลี่ยนถ่ายเจ้าของไม่ได้ เป็นต้น แต่คุณสมบัติดังกล่าวก็มีข้อโต้แย้งมากมาย เช่น สินค้าทุกอย่างก็มีความเป็นรูปธรรมและนามธรรมซ่อนอยู่ทั้งนั้น เช่น แก้วน้ำอาจจะเป็นรูปธรรมจากการมอง แต่ก็มีความเป็นนามธรรมในการทำให้ความกระหายหายไป หรือ ความรู้สึกจากรูปร่างหรือ brand ที่อยู่ที่แก้วก็ได้

Prof Sampson ได้เสนอว่า Service Operations หรือ กระบวนการให้บริการ นั้นให้ดูจากการมีส่วนร่วมของลูกค้าเป็นหลัก ว่ากระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีลูกค้า หรือ สิ่งของของลูกค้า (Customers and their belongings) เป็นปัจจัยนำเข้าของกระบวนการ (Inputs) หรือไม่ เช่น การตัดผม จำเป็นต้องมีลูกค้า มิฉะนั้นก็ตัดผมไม่ได้ หรือ สายการบิน ต้องมีลูกค้า และ กระเป๋าและเอกสารต่างๆ ในกระบวนการ ทั้งนี้ไม่นับข้อมูลความต้องการที่มาจาก Market research หรือวิจัยตลาดเพราะเป็นข้อมูลเชิงรวม ไม่ใช่ข้อมูลจำเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน ซึ่งแนวคิดนี้คล้ายๆ กับที่ผมคิดคิด การบริการนั้นลูกค้าจะมีส่วนร่วมในระดับที่สูง แต่ Prof. Sampson ได้วางวิธีการคิดที่ค่อนข้างเป็นระบบและเข้าใจง่าย หากสนใจเรื่องนี้สามารถ อ่าน slides ของ  Prof.Sampson เพิ่มเติมได้ครับ

ส่วนที่สอง Prof.Scott ได้เสนอกรณีศึกษาของการปรับตัวของธุรกิจการการผลิตมาสู่การบริการแก่ลูกค้ามากขึ้น ที่เรียกว่า Servitization หรือ  บริการภิวัฒน์ โดยใช้กรณีศึกษาจากบริษัททำความสะอาดผ้าเช็ดตัวที่ทำให้กับโรงแรมในออสเตรเลีย ผ่านเครื่องมือวาดแผนผัง กระบวนการ ห่วงโซ่ และเครือข่ายของธุรกิจที่เรียกว่า PCN หรือ Process Chain Network

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเครื่องมือ Mapping ที่คล้ายๆ กับที่มีอยู่ในในปัจจุบัน แต่เป็นการเพิ่มมุมมองของการปฏิสัมพันธ์ของแต่ละองค์กร หรือ Entity ตามใน PCN โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ Direct interaction, Surrogate interaction และ  independent interaction

 

ประเด็นที่น่าสนใจคือ จากกรณีศึกษาที่มีสินค้่าเดียวคือผ้าขนหนู และมีปัจจัยนำเข้าไม่มากตัวอย่าง PCN ใช้ได้ดี เพราะภาพที่ได้มาก็เหมือนกับ Process Mapping เชิงเส้นตรง แต่หาก กระบวนการมีความซับซ้อนสูงทั้ง ปัจจัยนำเข้า ลูกค้า ผู้ให้บริการ ที่มีมากกว่าหนึ่ง และมีความหลากหลายสูง PCN จะยังใช้ได้ดีอยู่หรือเปล่า เพราะ PCN ยังใช้ตัวสินค้าเป็นตัวนำในการวาดภาพระบบอยู่ ตรงนี้ทำให้ผมนึกไปถึงภาพ Tourism Supply Chains ที่ผมเคยนำเสนอไปที่ Nottingham ที่ใช้ตัวลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเป็นตัวนำในการวาดภาพโซ่อุปทานมวลรวมซึ่งมีความหลากหลายและเชื่อมโยงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องต่างๆ มากมายเช่น การขนส่งผู้โดยสาร โซ่อุปทานอาหาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม PCN ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจมาสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา Servitization เพราะสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้หลายๆ ประเด็นและครอบคลุมในเรื่องของแนวคิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการผลิตสู่ในการบริการได้ค่อนข้างชัดเจนทีเดียว ใครที่สนใจเครื่องมือนี้ก็สามารถ download ได้จาก link ของ BYU ตรงนี้เลยครับ

 


							

My EurOMA2011 Paper



After I have released my presentation slide, now it’s time for the full paper.

This paper was the result from my works in the past few years. It actually covers most of the theoretical foundation of my PhD thesis. The contribution which I proudly presented there was the collective impacts of supply chain collaborations on inter-firm outcomes e.g., relationship satisfaction and firm’s performance. Moreover, the methodology was another part that prove me right on the design of my research proposal at the very beginning of my PhD, which I presented in the EDAMBA 2009 in France. Now you may download the paper here.

View this document on Scribd

การจัดการโลจิสติกส์ สำหรับการท่องเที่ยว: อะไร ทำไม และอย่างไร


ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์
20 พฤศจิกายน 2552

เวลาผมนำเสนองานวิทยานิพนธ์ทีไร จะต้องมีคำถามจาก อาจารย์และนักวิชาการทั้งสายโลจิสติกส์และสายท่องเที่ยวว่า
“ทำไมท่องเที่ยวต้องสนใจโลจิสติกส์?” หรือ “ท่องเที่ยวของเชียงใหม่มีปัญหาโลจิสติกส์จริงเหรอ?”

จริงๆ แล้วงานวิจัยก็มาจากปัญหาที่เรายังตอบไม่ได้ จึงต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อหาคำตอบที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามหลายๆ คำถาม ก็ไม่ต้องทำวิจัย เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางไหน?  หรือ นักท่องเที่ยวที่รวยจะใช้จ่ายเงินมากกว่าคนที่มีรายได้น้อยกว่า (โดยเฉลี่ย) หรือไม่ เพราะทั้งสองคำถามต่างก็รู้คำตอบกันอยู่แล้ว

ในกรณีของโลจิสติกส์นั้นเป็นทีรู้กันว่าสำคัญต่อการผลิตอย่างมากเนื่องจากมีต้นทุนหลายๆ อย่างเช่น การขนส่ง การจัดเก็บสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อ ฯลฯ ที่สามารถลดลงได้กว่าครึ่ง เพียงแค่มีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดี อันนี้ไม่มีข้อสงสัยใดๆ

สำหรับธุรกิจค้าปลีกโลจิสติกส์ก็สำคัญมาก นอกเหนือไปจากต้นทุนทั้งหลายที่คล้ายๆ กับการผลิตแล้ว ยังมี ต้นทุนที่เรียกว่าต้นทุนที่เกิดจากการที่ “ของขาด” หรือ “ของเหลือ”

ของขาด คือ ลูกค้ามาที่ร้านแล้วไม่เจอของที่อยากได้ หรือ ไม่พอที่ต้องการ

ของเหลือคือ ในร้านเรามีของที่ค้างอยู่ที่ชั้นเยอะ ขายไม่ออกสักที

ของขาด ทำให้เสียรายได้ที่ควรจะได้ในระยะสั้น ในระยะยาวก็อาจเสียลูกค้าได้ เนื่องจาก ลูกค้าหนีไปร้านอื่นที่มีของแทน

ของเหลือ ทำให้เสียรายได้เนื่องจาก แทนที่จะเอามาวางของที่ขายได้แทน หรือ ของที่ขายไม่ออกเน่าเสีย หรือตกยุค กลายเป็นต้นทุนจมไป

ระะบบโลจิสติกส์ที่ดีจะสามารถกำหนดได้ว่าสินค้าอะไรบ้างที่ควาจะมาวางบนชั้น เมื่อไหร่ เป็นจำนวนเท่าใด และ ขายในเวลาไหน ควรลดราคาเท่าไหร่เมื่อใด และควรจะสั่งสินค้ามาทดทนเท่าไหร่ อย่างไร เมื่อใด ให้ส่งมาทางไหน ส่งมาจากไหน ส่งมาจากใคร ส่งมาแล้วให้ไปเก็บไว้ก่อนหรือไม่ เก็บไว้ที่ไหน เท่าไหร่ อย่างไร

… แล้วโลจิสติกส์ของการท่องเที่ยวหล่ะ?

สำหรับการท่องเที่ยว นั้น ไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าเท่านั้นแต่ว่ามีการเคลื่อนย้ายลูกค้า (ผู้บริโภค หรือ นักท่องเที่ยว) ด้วย ดังนั้นโลจิสติกส์ของการท่องเที่ยวนั้นมีปัญหาทุกอย่างที่เกิดใน การผลิต และ การค้าปลีก แถมยังปัญหาเกี่ยวกับการบริการเข้ามาด้วย นี่คือฝั่งผู้ให้บริการอย่างเดียวเท่านั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่ นักวิชาการโลจิสติกส์ให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น

อีกฝั่งก็คือการเคลื่อนย้ายลูกค้า (ซึ่งกว้างกว่าการขนส่งผู้โดยสาร) ที่คาร์ดิฟสนใจเรื่องโลจิสติกส์ของโรงพยาบาลอย่างมาก ที่มาคือมีนักวิจัยไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแล้วหงุดหงิดใจกับระบบของโรงพยาบาล

จนกลายเป็นโครงการวิจัยใหญ่ของประเทศไปเลย ยกตัวอย่าง เช่น งานของกลุ่มวิจัยเรื่อง Lean (มาจากระบบของ Toyota) ที่คาร์ดิฟศึกษาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยใน รพ.

อย่างไรก็ตามสำหรับการท่องเที่ยวนั้น นักท่องเที่ยวไม่ใช่แค่เดินไปเดินมาในโรงแรม (หากเทียบกับ ผู้ป่วย ใน โรงพยาบาล) หรือ เดินในงานพืชสวนโลก แต่ว่าตั้งแต่ออกจากบ้านก็ผ่านการเดินทางหลากหลายรูปแบบ ความต้องการก็ไม่แน่นอน

คนป่วยที่คาร์ดิฟหากฉุกเฉินโทรเรียกรถฉุกเฉินของรพ. แล้วก็รอแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่มาตรวจแล้วก็ทำตามขั้นตอนมาตรฐานผู้ป่วยและญาติก็เชื่อฟังด้วยความเต็มใจ บอกให้ทำอะไรก็ทำ (ถ้าอยากจะรอด)

ทว่าการท่องเที่ยวไม่ใช่แบบนั้น… เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นงานบริการที่เรื่องมากที่สุด บริการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวแบบไหนก็เรื่องมากหมด จะนอนโรงแรมห้าดาวอย่าง “ดาราเทวี” หรือจะนอนวัดก็เรื่องมากทั้งนั้น… แต่เรืองมากคนละแบบ ต้องการคนละอย่าง … เรื่องนี้คนโรงแรมรู้ดี ไม่เท่านั้น คนป่วย มีประวัติการรักษา แพทย์ พยาบาลดูประวัติแล้วก็วินิจฉัยได้เลย

อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวไม่ใช่แบบนั้นไปซะหมด ยิ่งปัจจุบัน เราพบว่านักท่องเที่ยวคนเดียวกันมีหลายหน้า หมายถึงคนๆ เดียวท่องเที่ยวหลายแบบ แล้วแต่ปัจจัยหลายประการ

ยกตัวอย่างใกล้ตัว ผมเอง เวลาที่อยู่กับ อ.มิ่งสรรพ์ ไปประชุมวิชาการ พักโรงแรมที่ค่อนข้างดี แต่ตอนนี้มาเรียนเองแล้วไม่มีทุนวิจัยสนับสนุนมากมาย

ไปประชุมคราวนี้ก็ต้องนอนหอ นศ. เก่าๆ ห้องน้ำรวม แต่ผมคนเดิมอีก เดือนหน้าไปเสนองานที่ภูเก็ตสองคืนแรกพักสามดาว (เบิกได้) อีกสามคืนอยู่ต่อเองเพื่ิอทำงานวิจัยก็เปลี่ยนไปอยู่สองดาว…

ดูเหมือนว่าเรื่องเงินสำคัญ…

มาดูอีก… ผมคนเดิม กลับมาทำวิจัยคราวนี้เบิกที่คาร์ดิฟเรื่องเดินทางได้เต็มที่ ขาที่ต่อเครื่องมาจากสุวรรณภูมิก็การบินไทย ไปภูเก็ตก็การบินไทยจาก เชียงใหม่ กรุงเทพ แล้วก็ภูเก็ต แต่ขาจากภูเก็ตมาเชียงใหม่ใช้ Air Asia เพราะมีเที่ยวตรง (ไม่เกี่ยวกับราคาเลย เกี่ยวกับลักษณะของบริการที่เหมาะสม) เดี๋ยวถ้าไปดูซีเกมส์ที่เวียงจันทน์ก็อาจจะไปกับการบินลาวก็ได้ เพราะออกจากเชียงใหม่ได้แวะหลวงพระบางก่อน แล้วต่อไปวังเวียงแบบรถคิวถูกๆ เพราะสนุกดี ให้เพื่อนมารับไปเวียงจันทน์ ต่อรถไฟเองไปลงหนองคาย อุดรฯ แล้วก็เชียงใหม่ แผนสามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ

การท่องเที่ยวนั้นเรื่องมาก และ ลูกค้าเอาแต่ใจสูง ทีนี้ ทำไมโลจิสติกส์สำคัญในการท่องเที่ยวในระยะสั้นเอกชนสามารถลดต้นทุนได้ ทั้งจากการที่สามารถจัดการการเตรียมของไว้บริการได้เพียงพอในราคาี่ถูกที่สุด เนื้อหมูไม่ขาด เบียร์มีพร้อม สาวเชียร์เบียร์มาครบ แก้ว จาน ชาม สะอาด เรียบร้อยมีพร้อมใช้งาน และที่สำคัญของพวกนี้ไม่มีอะไรที่มีอยู่เกินความจำเป็น

ในระยะยาว ผู้ให้บริการแก่ลูกค้าได้ตรงตามความต้องการก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า มาใช้บริการเรื่อยๆ ไม่ใช่ ตีหัวเข้าบ้าน เน้นเอาถูกแต่คุณภาพไม่ดีพอ หรือ ดันไปให้อะไรที่ลูกค้าไม่ต้องการแต่ละเลยสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ เช่น ลูกค้าเป็นชาวญี่ปุ่นมาอยู่หลังวัยเกษียณแต่ห้องน้ำไม่มีอ่าง แต่ดันมีมุมทำงานที่มีอุปกรณ์ครบครัน

อีกตัวอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์ราคากับคุณภาพที่ผมชอบพูดคือ ปรากฎการณ์ปาท่องโก๋ … (ถ้าอยากฟังต่อกดที่ Link เลยครับ)

ปรับปรุงจาก TourismLogistics.com
บทความ ทำไมต้องสนใจการจัดการโลจิสติกส์ในการท่องเที่ยว?

My EurOMA 2011 Presentation


Just before I forgot the event, I’d like to share my experience in one of the most distinguish Operations Management in the world.

This year, the conference has set a new bar with highest number of abstract submitted, papers orally presented, PhD students in the doctoral seminar and conference delegates.

There are 20 parallell sessions through out the two very intensive days.

My presentation was in the session called “Performance Management in Inter-firm Relationships” which I also chaired. There are three presentation, mine was the last one.

In the beginning of the session, there were only session presenters and few friends in the room. However, just minutes before my turn, more and more audiences was joining the session. Most of them were those of senior academics. Moreover, most of them asked me a questions or two or more. However, they were positively constructive.

I believe that I responded them well due to their feedbacks. The questions were about the measurement and the discussion on the unexpected results.

You may find the slides in this link.
Just note that this was the second time I use LaTeX to create the slides.

%d bloggers like this: