Skip to content

เศรษฐศาสตร์กับโลจิสติกส์ ตอนที่1 ทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัยด้านโลจิสติกส์


วิชาโลจิสติกส์เป็นศาสตร์และองค์ความรู้ที่ยังใหม่อยุ่มากเมื่อเทียบกับวิชาอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเอาทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดจากสาชาวิชาอื่นๆ มาปรับใช้ สาขาวิชาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านโลจิสติกส์ได้แก่ 1. บริการธุรกิจ 2. วิศวกรรมศาสตร์ 3. เศรษฐศาสตร์

1. บริการธุรกิจ

– วิชาการตลาด (ช่องทางการจัดจำหน่าย ความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นต้น) เช่นงานของ Martin Christopher (Cranfield, UK) http://www.martin-christopher.info/about.htm

– การขนส่ง รวมถึงพาณิชย์นาวี (การเลือกเส้นทางขนส่ง การจัดการต้นทุนการขนส่ง การเลือกผู้ให้บริการ เป็นต้น) เช่นที่ Erasmus หรือ Cardiff ในเมืองไทยผู้ที่ชำนาญด้านนี้ ก็คือ รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ (ธรรมศาสตร์)http://www.bus.tu.ac.th/usr/ruth/index.html

-Operations Management (การสั่งสินค้า การบริหารสินค้าคงคลังเป็นต้น) เป็นการจัดการ การวางแผนกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ผมเรียนวิชานี้ที่คาร์ดิฟฟ์ และได้มีโอกาสสอนที่ ม.เกษตร ศรีราชา ไปครั้งหนึ่ง หวังว่าจะได้กลับไปสอนที่เชียงใหม่ในปีหน้า 2554 นี้

2. วิศวกรรมศาสตร์ 

โดยเฉพาะ Industrial Engineering และ Operations Research งานทางด้านวิศวอุตสาหกรรม หรือ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนั้น เป็นการนำเอาความรู้ทางคณิตศาสตร์ มาวิเคราะห์ปัญหาจริง อาจมีการสร้างแบบจำลองทางคณิศาสศาตร์เพื่อเสนอวิธีที่ดีกว่า เช่นการพยาการณ์ที่แม่นยำกว่า เป็นต้น ผู้ชำนาญในเมืองไทยที่ผมพอทราบได้แก่ ผศ.ดร. อภิชาติ โสภาแดง (ม.เชียงใหม่)http://it.doi.eng.cmu.ac.th/teacher/Apichat/index.htm หากสนใจตัวอย่างงานวิจัยโลจิสติกส์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็ลองดูได้ที่ website ของ Dr. Stephen Disney (Cardiff University) http://www.bullwhip.co.uk/bwExplorer.htm

3. เศรษฐศาสตร์

การนำเอาความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยเชิงโลจิสติกส์นั้น ยังไม่มีความเด่นชัดมากนัก ที่ใช้กันมากก็จะเป็นการนำเอา เศรษฐมิติไปใช้ทางอ้อม ส่วนมากโดยวิศวกร โดยเฉพาะเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series) เช่น การพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อสินค้า อีกส่วนก็จะเป็นด้านการเลือกเส้นทางขนส่ง และผู้ให้บริการที่มีการนำเอา Logit Model และ Probit Model ไปใช้อธิบายปัจจัยที่ทำให้โอกาสในการเลือกแต่ละเส้นทาง แตกต่างกัน เช่น Daniel McFadden  นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล โดยรายละเอียดของ Logit Model นั้น ผศ.คมสัน สุริยะได้อธิบายไว้ส่วนหนึ่งแล้ว (http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=75&Itemid=93)

สำหรับตอนหน้า (ตอนที่2) เราจะได้มาเจาะเรื่อง เศรษฐศาสตร์ กับ โลจิสติกส์ กันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นครับ

No comments yet

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: