Skip to content

Posts from the ‘Tourism’ Category

ปัจจัยสู่การเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวระดับโลก


บทความนี้เป็นการตอบคำถามในกลุ่ม TANT (Tourism Academic Network of Thailand) ใน Facebook

คำถามประมาณว่า มีปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้กิจกรรมท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นก้าวสู่ระดับโลกได้

ตำตอบของผมมีดังนี้ครับ

ผมคิดว่ากิจกรรมระดับท้องถิ่น หรือ ระดับโลก นั้นมีหลายมุมมองนะครับ

หากมองด้านการตลาด ซึ่งการเป็นงานระดับท้องถิ่น หรือระดับโลก ก็น่าจะวัดจาก ผู้เข้าร่วมงานว่าเป็นคนท้องถิ่น หรือ จากทั่วโลก ซึ่งปัจจัยแรกๆ ก็น่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ โดยการประชาสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะต้องสามารถสื่อสารภาพลักษณ์ให้ตรงกับความต้องการและ มุมมองของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม เช่น จากงานวิจัยของผมก็พบว่าแม้แต่ ชาวอังกฤษ กับ ชาวออสเตรเลียนั้น ก็จะมีการมองภาพลักษณ์ของไทยที่ต่างกัน โดยอังกฤษจะเน้น ธรรมชาติ อากาศ ส่วน ออสเตรเลียก็จะเน้นการจัดการและความเป็นไทยมากกว่าอย่างไรก็ตามนอกจากการประชาสัมพันธ์แล้ว การที่จะทำให้กิจกรรมท่องเที่ยวนั้นๆ อยู่ในระดับโลกนั้นจะต้องมีสองปัจจัยนี้เป็นอย่างน้อย

1. ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ คุ้มทุนด้วยตัวงานเอง ไม่ต้องอาศัยเงินสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก รวมทั้งระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ดี คือ นักท่องเที่ยวหรือผู้เข้าเยี่ยมชมได้รับในสิ่งที่ต้องการ ตรงตามที่งานได้บอกไว้ เช่น ตรงเวลา ตรงตามคุณภาพ และมีราคาที่เหมาะสม ซึ่ง ไม่จำเป็นต้อง ถูกที่สุด หรือ เร็วที่สุด แต่เป็นไปตามที่นักท่องเที่ยวรับได้ครับ2. การมีส่วนร่วม หรือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
การที่จะผลักดันในกิจกรรมท้องถิ่นไปสู่ระดับโลกนั้น จะมีผลกระทบหลายๆ ด้านที่ตามมา เช่น ทางเศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม
โดยทางเศรษฐกิจนั้น จะต้องทำให้ผลประโยชน์กระจายไปให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด และในส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับชุมชน และประเมินผลกระทบไม่ให้คนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ หรือได้รับทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องและโปร่งใส

ตัวอย่างเช่น งานพืชสวนโลกที่เชียงใหม่ นั้น ผู้ประกอบการเดินรถและโรงแรมได้ประโยชน์มาก แต่ ชาวเชียงใหม่ ต้องประสบกับปัญหา การจราจรติดขัด
ไม่รู้ว่าหากมีการสำรวจว่าชาวเชียงใหม่อยากใหมีงานพืชสวนโลกทุกปีหรือเปล่า คำตอบจะออกมาอย่างไร

เมื่อเทียบกับงานระดับโลกอย่าง โอลิมปิค ที่ลอนดอน ปีนี้
แน่นอนว่าชาวลอนดอนและเมืองใหญ่ๆ นั้นจะต้องได้รับผลกระทบแน่นอนเพราะจะมีคนมาเที่ยวมากที่สุด สนามบินฮีทโทรว์ก็จะมีผู้โดยสารมากที่สุดในประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น การจราจรจะต้องติดขัดกว่าเดิม ที่ก็ติดว่าอยู่แล้วแน่นอน

นอกเหนือไปจากนั้น ทางคณะจัดงานก็จะต้อง ทำให้ VIP และนักกีฬาเดินทางได้อย่างสะดวกและเดินทางไปยังสนามแข่งได้ทันเวลา โดยมีการกำหนด ORN (Olympic Route Network) เป็นเส้นทางพิเศษ ซึ่งก็จะทำให้การจราจรติดขัดไปอีก

ทางออกคือ tfl (transport for london) หรือสำนักงานขนส่งลอนดอนได้มีการกำหนดแผนงาน เส่นทาง ORN ซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน มีการพยากรณ์ผลกระทบด้านการจราจรรายวัน และเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้ทราบ
http://www.tfl.gov.uk/corporate/projectsandschemes/18196.aspx

และได้มีมาตรการต่างที่จะลดผลกระทบทั้งสองฝ่ายเช่น กำหนดวันหยุดให้โรงเรียน

สำหรับ ภาคเอกชนที่จะต้องขนส่งสินค้านั้นก้จะได้รับผลกระทบเช่นกัน
ทาง tfl ็ได้มีการวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเส้นทางและเวลาที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้ายสินค้า และ สร้างจุดเคลื่อนย้ายและกระจายสินค้าตามจุดที่สำคัญต่างๆ

อย่างไรก็ตามพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้ไปสู่ระดับโลกนั้น
โดยอาจจะเป็นระดับโลกแบบไทยๆ ก็ได้นะครับ เพราะจากงานวิจัย นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยส่วนใหญ่ก็ชื่นชอบในความเป็นไทย

เราอาจจะไม่ตรงเวลามาก 100% สำหรับการท่องเที่ยวแบบสบายๆ แต่ก็ต้องบอกให้นักท่องเที่ยวทราบในเรื่องนี้ก่อน แต่หากเป็นการท่องเที่ยวเที่ยวประเภท MICE ที่นักท่องเที่ยวเป็นผู้บริหารระดับสูงนั้น เราก็จะต้องพัฒนาระบบให้การเดินทางนั้นมีความรวดเร็วและตรงต่อเวลา เรียกได้ว่าเป็นการท่องเที่ยว มาตรฐานไทยระดับโลก – “Thailand – A World Class Land of Smile”

นโยบายท่องเที่ยว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1


๓.๓.๓ ภาคการท่องเที่ยว การบริการ  และการกีฬา

๑) การพัฒนาการท่องเที่ยว

๑.๑) ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน

ท่ีสนับสนุนการท่องเท่ียวและเร่งรัดการปรับปรุงมาตรฐานในเร่ืองส่ิงอํานวยความสะดวกความปลอดภัย และสุขอนามัย โดยคํานึงถึงการเข้าถึงแหล่งท่องเท่ียวของผู้พิการและผู้สูงอายุ

๑.๒) พัฒนาบูรณะและฟื้นฟูแหล่งท่องเท่ียว

ทางธรรมชาติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเดิมท่ีมีอยู่แล้ว ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเท่ียวใหม่ในเชิงกลุ่มพ้ืนท่ีท่ีมีศักยภาพสามารถเช่ือมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่ เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเท่ียวต่าง ๆ ของประเทศรวมท้ังส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๑.๓) ยกระดับและรักษามาตรฐานบริการ

ด้านการท่องเท่ียวเพ่ือให้การประกอบการและดําเนินธุรกิจเป็นไปตามมาตรฐานสากลรวมท้ังพัฒนามาตรฐานบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับการท่องเท่ียว ตลอดจนปรับปรุงการบริการภาครัฐเพ่ือให้สามารถดึงดูดและรองรับตลาดนักท่องเท่ียวกลุ่มคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑.๔) ส่งเสริม สนับสนุนตลาดนักท่องเท่ียว

คุณภาพท้ังจากต่างประเทศและในประเทศ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในกลุ่มต่างๆ ท้ังระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศเพ่ือให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเท่ียวระดับโลก ศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศและศูนย์กลางการท่องเท่ียว เชิงสุขภาพ และเพ่ิมประสิทธิภาพการตรวจลงตรา การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา

ให้แก่นักท่องเท่ียวท่ีอยู่ในกรอบการค้าเสรีหรือมีความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนร่วมกับประเทศไทย และการยกเวนการตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่มเป้าหมาย

๑.๕) ส่งเสริมกิจกรรมและรูปแบบ

การท่องเท่ียวเพ่ือสร้างคุณค่าและมูลค่าเพ่ิมทางการท่องเท่ียว พัฒนาคุณภาพการบริการท่องเท่ียว สนับสนุนการถ่ายทําภาพยนตร์ต่างชาติในประเทศไทย และส่งเสริมการเสนอตัว ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมนานาชาติ ขนาดใหญ่

๑.๖) ผลักดันความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ
เพ่ือให้บริการนักท่องเท่ียวอย่างมีคุณภาพ รวมท้ังพัฒนามาตรฐานบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับการท่องเท่ียวให้เพียงพอกับความต้องการ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบท่ีเก่ียวข้องกับการท่องเท่ียว และเพ่ิมประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายท่ีเก่ียวของเพ่ืออํานวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเท่ียว พร้อมท้ังป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพ่ือพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยั่น

๑.๗) พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์

ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ด้านการตลาด และการประชาสัมพันธ์เพ่ือยกระดับแหล่งท่องเท่ียวของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ที่มา: เวปไซต์รัฐบาลไทย 

เทคนิคการทบทวนวรรณกรรม Literature Review ภาค2


เนื่องจากวิทยานิพนธ์ของผมที่เป็นการพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมบริการ โดยใช้กรณีของการจัดการการดำเนินการในโรงแรม ดังนั้นในวิทยานิพนธ์จึงมีบทพิเศษสองบทที่เป็นการทบทวนวรรณกรรมในสองเรื่องใหญ่ๆ คือ

1. อธิบายเครื่องมือที่ต้องการจะพัฒนาที่เรียกว่า Quick Scan Audit Methodology (QSAM)
2. สรุปทบทวนการดำเนินการและโซ่อุปทานของโรงแรม

สิ่งที่สองบทนี้มีความแตกต่างจากบท Literature Review คือจุดมุ่งหมายที่เน้นการให้ความรู้และข้อมูลกับผู้อ่านในเรื่องเฉพาะ โดยเรื่องของการชี้ช่องว่างในวรรณกรรม (Gaps in Literature) นั้นไม่ได้เป็นส่วนสำคัญมากเท่าไหร่

ในงานวิทยานิพนธ์อื่นๆ อาจจะมีบทที่อธิบายอุตสาหกรรมที่เป็นกรณีศึกษาของงาน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร หรือ การค้าปลีก หรือ อธิิบายโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ในกรณีที่ใช้ประเทศนั้นๆ เป็นกรณีศึกษาหลัก

ส่วนตำแหน่งของบทนั้น อาจจะอยู่ก่อนหน้า หรือ อยู่หลังบททบทวนวรรณกรรมหลักก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม สำหรับวิทยานิพนธ์ของผมนั้น บทที่อธิบาย QSAM จะอยู่ก่อน Literature Review ตามด้วยบทที่เจาะเฉพาะ Hotel Operations & Supply Chains

Download
Chapter2 Quick Scan Audit Methodology
Chapter4 Hotel Operations and Supply Chain

Useful Link
เกร็ดการทำวิจัยจาก TourismLogistics.com: การเขียน Literature Review 

เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์ MSc Dissertation


บทความชุดนี้เป็นการเล่าเรื่องราวประสบการณ์ของผมในการเขียน MSc Dissertation เรื่อง Quick Scan for Service Industry ที่ Cardiff University โดยแบ่งออกเป็นห้าส่วนหลักดังนี้ครับ
(คลิ๊กตามหัวข้อที่เป็นสีฟ้าได้เลยครับ)

ตอนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรม ภาค1ภาค2

ตอนที่ 2 ระเบียบวิธีวิจัย Methodology

ตอนที่ 3 ผลการศึกษา

ตอนที่ 4 สรุป

ตอนที่ 5 บทนำ

หมายเหตุ: วิทยานิพนธ์ในบทความนี้จะเจาะจงถึง MSc Dissertation ใน UK โดยเฉพาะสาขา Logistics และวิชาที่เกี่ยวข้องซึ่งมีเวลาทำ 3 เดือน และมีความยาวไม่เกิน 15,000 คำ อย่างไรก็ตามอาจจะสามารถนำปรับไปใช้กับสาขาวิชาอื่นๆ ได้ตามวิจารณญาณของท่าน

Harry Boer’s Highly Commended Paper Award: EurOMA 2011


Welcoming Prof. Disney, my PhD supervisor, back from his six month leave to USA with the  Harry Boer award for the paper that was presented in EurOMA 2011 conference.

More about the paper and presentation slides 

%d bloggers like this: