Skip to content

Posts tagged ‘Thailand’

Tourism Associations and Agencies in Thailand – รายชื่อสมาคมและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย


หน่วยงานภาครัฐ

  1. กรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism)
  2. กระทรวงการท่องเที่ยว และ กีฬา (Ministry of Tourism and Sports)
  3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (Tourism Authority of Thailand)

ระดับประเทศ

  1. สภาอตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (Thailand Tourism Council)
  2. สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotel Association)
  3. สมาคมสปาไทย (Thai Spa Association)

ระดับภาค

  1. สมาคมโรงแรมภาคอีสาน

ระดับจังหวัด

  1. เชียงใหม่
    สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ (Chiang Mai Tourism Business Association)
    สมาคมมัคคุเทศน์ เชียงใหม่ (Chiang Mai Guide Association) 
  2. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต (Phuket Tourist Association)
  3. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดพิษณุโลก
  4. สมาคมท่องเที่ยวเกาะสมุย (Tourism Association of Koh Samui)
  5. สมาคมการท่องเที่ยวและโรงแรมจังหวัดตรัง (Trang Tourism and Hotel Association)
  6. ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
  7. สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา (Tourists Business Federation of Songkhla)

Thailand National Research Strategy on Logistics and Supply Chain


ยุทธศาสตร์วิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแห่งชาติ

ฉบับที่ ๒ (อยู่ระหว่างการจัดทำ)

การประชุมเพื่อจัดทำประชาพิจารณ์ยุทธศาสตร์วิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) PDF

ฉบับที่ ๑ (เสร็จสมบูรณ์)

เอกสารสำคัญ

  1. ยุทธศาสตร์วิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแห่งชาติ PDF
  2. สรุปผลประชุม Roundtable ครั้งที่ 1 PDF
  3. ตารางกิจกรรมการบริหารจัดการงานวิจัยแบบมุ่งเป้าประจำปี 2555 DOC

หน่วยงานประสานงาน
Website: www.thaivcml.com
Email: officelogistics.trf@gmail.com

สำนักประสานงานชุดโครงการวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

พันธกิจของชุดโครงการวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สนับสนุนการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของชาติ มุ่งเน้นผลวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของภาครัฐ และแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุดของภาคอุตสาหกรรม

โครงการที่อยู่ในความดูแลของชุดโครงการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

1. โครงการพัฒนารูปแบบการคัดกรองสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นหัตถอุตสาหกรรม

2. โครงการการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้เพื่อการขนส่งในประเทศไทย

3. โครงการการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมกุ้งขาวลิโทพีเนียสแวนาไมในประเทศไทย

4. โครงการการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสับปะรด

5. โครงการการจัดลำดับการผลิตซ้ำใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์คอนกรีต

6. โครงการการพัฒนาแบบจำลองโซ่อุปทานในการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจค้าส่ง – ค้าปลีก และการพัฒนาดัชนีชี้วัดสมรรถนะโซ่อุปทานธุรกิจการค้าปลีก

7. โครงการปัจจัยการผลิตและผลผลิตสำหรับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลางเพื่อประเมินผลด้านเศรษฐกิจ

8. โครงการการจัดตารางการขนส่งเพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดถังพักนมต่ำที่สุด : กรณีศึกษาโรงงานผลิตนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อ.ส.ค.) จังหวัดขอนแก่น

9. โครงการการจัดการโกดังสินค้าและคลังกระจายสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาล

10. โครงการการศึกษาและสำรวจระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีนในบริบทของข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน

11. โครงการการศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานของลำไยสดในประเทศไทย

12. โครงการการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้เพื่อการขนส่งในประเทศไทย

1.โครงการการออกแบบระบบการตัดสินใจ เลือกระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างไทย – เวียดนาม

2.โครงการ การสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงข้อมูลของเกษตรกรและชุมชนกรณีศึกษา: โซ่อุปทานลำไยนอกฤดู

3.โครงการวิจัยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของเหรียญกษาปณ์

1.โครงการนโยบายของไทยในการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์น้ำตาล

2.โครงการนโยบายของไทยในการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์อ้อยและน้ำตาล การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและน้ำตาลโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

3.โครงการการจัดการระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับและกรีนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ

4.การปรับปรุงการเข้าถึงของอาหารไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น ด้วยการบูรณาการกับห่วงโซ่อุปทานของญี่ปุ่น

5.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบูรณาการ E-Logistics เพื่อแก้ปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างยั่งยืน

6.โครงการโลจิสติกส์ไทย-พม่า

7.โครงการสร้างเครือข่ายตลาดทั้งประเทศ

8.โครงการการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อการท่องเที่ยวโดยวิธีการวิเคราะห์คุณลักษณะของนักท่องเที่ยว (Data Mining)

9.โครงการ AEC

ที่มา: เครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการโซ่คุณค่าและโลจิสติกส์ของไทย (ThaiVCML)

Image of Thailand


Background

This research aims to find the image of Thailand as a tourist destination from the perspective of British and Australian tourists who ever visited Thailand as well as who have not. The research was initiated and supported by Profesor Mingsarn Kaosa-ard of Chiang Mai University.

Contributions

  • Images of tourist destinations can be categorised into 3 types: 
  1. Popular image: An general image that the destination is mostly recognised in general.
  2. Specific image: An image of the destination that is recognised by a particular type of tourists (market).
  3. Attractive images: An image of the destination that is recognised by those who ever visited but not by those who never.
  • Popular image of Thailand is “Foods”
  • Specific image of Thailand from the British perspective is “Great Weather” and “Entertainment e.g., spa, night life” for the Australian market.
  • Attractive image of Thailand is “Entertainment” for the British market and “Value for money” for the Australian market.

In Thai

วันนี้เอางานที่นำเสนอเมื่อสองปีที่ผ่านมา เอามาแบ่งปันกันครับ ก่อนอื่นขอขอบคุณ ศ.ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ที่ให้โอกาสผมในการทำงานวิจัยนี้

งานนี้เป็นการศึกษาภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของต่างชาติครับ

ภาพลักษณ์ของประเทศมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำการตลาดและปรับปรุงการให้บริการ เป้าหมายขั้นต้นก็คือต้องการจะรู้ว่า ชาวต่างชาติมองประเทศไทยอย่างไร เป็นแบบที่เราคิดหรือไม่

ผมได้มีโอกาสเก็บข้อมูลที่ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ สก๊อตแลนด์ และ เวลส์) อีกทีมทำที่ออสเตรเลีย เราได้นำข้อมูลจากทั้งสองมาทำการวิเคราะห์รายประเทศ และวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน

วิธีการศึกษาวิจัย เป็นการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามให้ชาวต่างชาติให้คะแนนภาพลักษณ์ต่างๆ ของไทยทั้ง 17 ด้านที่ได้มาจากการ ทบทวนงานศึกษาในอดีต รวมทั้งปรึกษาผู้เชียวชาญ การทดสอบแบบสอบถาม ระหว่างการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาธรรมดา เช่นค่าเฉลี่ยนั้น ผมพบว่างานแบบนี้ยากมาก เพราะเราได้ข้อมูลมาแล้วคำถามวิจัยตามมาทีหลังซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่พึงปรารถนามากนัก แต่หลีกเลี่ยงได้ยากมากในประเทศไทย ดังนั้นการใช้เครื่องมือจึงต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก แต่มันก็ท้าทายไม่น้อยครับเมื่อได้ลองทำๆ ไป ผมก็ได้ค้นพบว่าเราสามารถวิเคราะห์แบ่งภาพลักษณ์นั้นออกได้ 3 ประเภท คือ ภาพลักษณ์ดัง ภาพลักษณ์เด่น และภาพลักษณ์โดน

ภาพลักษณ์ดัง คือ ภาพลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักมากกว่าด้านอื่นๆ อะไรที่เราดังนั่นเอง ภาพลักษณ์เรื่องนี้ทำให้เราทราบว่านักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศมองประเทศเราด้านไหน ทำให้เราสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสมมากขึ้น

ภาพลักษณ์เด่น เป็นการเปรียบเทียบมุมมองของสองกลุ่มตัวอย่าง เราเทียบ สหราชอาณาจักร กับ ออสเตรเลียใครมองอะไรเด่นกว่ากันนั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจคือทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน แต่มีสภาพแวดล้อมของถิ่นที่อาศัยต่างกัน สหราชอาณาจักร มีอากาศที่อึมครึม ฝนตก เกือบตลอดปี ชายหาดเทียบไม่ได้เลยกับบ้านเราขณะที่ออสเตรเลีย ไม่เป็นเช่นนั้น ภาพลักษณ์ในใจของทั้งสองกลุ่มจึงน่าจะต่างกัน ภาพลักษณ์กลุ่มนี้ขยายผลจากส่วนแรก ทำให้เราทราบว่าเราจะสร้างความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มตลาดได้อย่างไร

ภาพลักษณ์โดน คือการเปรียบเทียบระหว่างคนที่เคยมาเที่ยวไทยกับคนที่ยังไม่เคยมา อะไรที่โดนใจคนนั่นเอง ความแตกต่างเกิดจากสองประการหลัก หนึ่ง ประสบการณ์ที่เกิดจากการที่เคยมาเที่ยวแล้ว สอง ภาพลักษณ์ที่มีอยู่แล้วก่อนมาเที่ยว ซึ่งต่างจากคนที่ไม่เคยมาเที่ยวอยู่ด้วยแล้วส่วนหนึ่ง

ตรงนี้ทำให้เราพอทราบได้ว่า ภาพลักษณ์ใดที่โดนใจให้คนมาเที่ยว หรือมาเที่ยวแล้วโดนใจมากกว่าด้านอื่น ทั้งสามด้านใช้ t-test แบบ independent variable เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย สำหรับภาพลักษณ์ดังก็เป็นการเทียบระหว่างภาพลักษณ์ด้วยกันเองเพื่อจัดลำดับ เป็นการยืนยันว่า คะแนนดิบที่เราเห็นนั้นสะท้อนความแตกต่างจริงๆ หรือเปล่า

โดยการใช้ t-test นั้นก็เป็นเพียงการทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยครับ เราไม่ได้ทดสอบว่าอะไรทำให้อะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแต่ว่าการทดสอบความแตกต่างจากสองกลุ่มที่มีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างก็ได้ผลการศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อยครับ

ผลที่ได้สามารถดูได้ใน Slides ที่แนบมานี้ครับ

 

Thailand Map by Election Result 2011


20110704-025557.jpg

Source: The Nation, page 16A

Such a cool way to sum it up

%d bloggers like this: