โอกาสของธุรกิจไทยในประเทศเมียนม่าร์ (พม่า)

Myanmar: Open for Business (Source: http://www.livemint.com)
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือที่เรียกกันติดปากว่า AEC (ASEAN Economic COmmunity) ใน ปลายปี พ.ศ.2556 นี้ ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศนั้น มีความสะดวกมากขึ้น
แน่นอนว่าสิ่งนี้ย่อมทำให้เกิดทั้ง ความท้ายทายจากการบุกธุรกิจจากต่างประเทศ รวมทั้ง แรงงานที่จะไหลเข้าประเทศมากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยเองก็มีโอกาสมากขึ้นเช้นเดียวกัน
โอกาสที่ว่านี้กล่าวโดยกว้างแล้วมีทั้งจากทางด้านซัพพลายต้นน้ำ ในการหาวัตถุดิบที่หายาก หรือ ที่มีราคาที่ถูกกว่า รวมทั้งโอกาสทางการตลาดในการขายสินค้าและบริการได้เช่นกัน
บทความนี้ผมเขียนขึ้นจากการแนะนำ ของ พี่อารยะ ลายประวัติ กรรมการหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 เนื่องจากทางหอการค้ากลุ่มจังหวัดฯ กำลังจะมีโครงการ Road Show ธุรกิจไทย และ Business Matching ในเดือนตุลาคม 2556 นี้
ที่มา: http://www.thaibiz.net/th/market/Republic-of-the-Union-of-Myanmar
ที่มา: ธนาคารกสิกรไทย
ธุรกิจบูทีคโฮเทล
ธุรกิจเครื่องดิื่ม
ธุรกิจข้าว (link)
” … สำหรับโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย หากต้องการเข้าไปลงทุนธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ อาจเข้าไปในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตข้าว โดยพิจารณาแนวทางการรวมกลุ่มไปข้างหลัง (Backward Integration) เช่น ผู้ส่งออกอาจพิจารณาการไปตั้งโรงสี และรวมตัวกับผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อควบคุมปัจจัยการผลิต
การลงทุนโรงสีในเมียนมาร์นับว่ามีลู่ทางที่พอเป็นไปได้ โดยใช้เมียนมาร์เป็นฐานการส่งออกข้าว ในแง่การเข้าไปลงทุนร่วมพัฒนาโรงสีข้าว โดยไทยนำเอาเทคโนโลยีไปเพิ่มความสามารถให้เมียนมาร์ ซึ่งสอดรับกับความต้องการของเมียนมาร์เองที่ต้องการโรงสีที่ทันสมัย เนื่องจากปัจจุบันโรงสีกว่าร้อยละ 80 ในเมียนมาร์ยังเป็นโรงสีขนาดเล็กที่มีเทคโนโลยีการผลิตต่ำ ส่งผลต่อคุณภาพข้าวที่อาจมีข้าวเมล็ดหักปริมาณสูง
อีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ ผู้ค้าข้าว (Trader) ในเมียนมาร์เพื่อส่งออก และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่คาดว่าจะเติบโตตามการเร่งฟื้นฟูธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ด้วย เช่น ปุ๋ย และเครื่องจักรกลทางการเกษตร จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้วยเช่นกัน … ”
ปัจจัยในการทำธุรกิจกับเมียนม่าร์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเมียนม่าร์
เขตการปกครอง
ชายแดน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมียนม่าร์ มีดังนี้
- คู่มือการค้าและการลงทุนในประเทศพม่า – สสว. (link)
- คู่มือการค้าการลงทุน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ – AEC กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ (link)
- โอกาสธุรกิจในพม่า -Kbank (link)
- ตามเส้นทางการค้าการลงทุนช่องทาง/โอกาสเมียนมาร์ – ธราดล ทองเรือง (link)
- ดัชนีและคู่มือการลงทุนในพม่า – BOI (link)
- วัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของสหภาพพม่า (link)
- การค้าและการลงทุนในพม่า : แนวโน้มในอนาคต – สุพจน์ กลิ่นปราณีต (link)
- เปิดกลยุทธ์ทำตลาดในพม่าให้ได้ผล – เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย (link) (pdf)
- พม่า โอกาสการค้า-การลงทุนที่ SMEs ไทยไม่ควรมองข้าม – SMI (link)
- สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ – กระทรวงต่างประเทศ (link)
- มิงกาลาบา มัณฑะเลย์ – กรุงเทพธุรกิจ (link)
- “พม่า” เนื้อหอม เมืองท่องเที่ยวดาวเด่นดวงใหม่แห่งอาเซียน – ผู้จัดการ (link)
- 10 เมืองที่น่าลงทุนในพม่า – Logistics View (link)
- พม่าเปิดประเทศ… ไทยได้หรือเสีย? – TPSO (link)
- ต้นทุนการโฆษณาในพม่า (link)
- The Road Up from Mandalay (The Economist)
[ Update: 16 กันยายน 2556] ข้อมูลเพิ่มเติมจาก คุณอารยะ ลายประวัติครับ
“อีกมุมนึงที่น่าสนใจ สำหรับเมียนมาร์ ที่นักธุรกิจไม่ทราบกันนัก คือเรื่องระบบการเงิน ปัจจุบันมิได้ถือเป็นความสะดวกนักในการใช้บริการการเงินในเมียนมาร์ ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง อย่างไรก็ตามธนาคารไทย ก็ได้พยายามเข้าไปเชื่อมโยง การเงินให้นักธุรกิจสะดวกในการโอนเงินค่าสินค้ากันมากขึ้น รวมถึงบริการให้คำปรึกษาในเมียนมาร์ สำหรับนักธุรกิจไทย/พม่า ที่ต้องการลงทุนค้าขายระหว่างกัน”
https://www.facebook.com/NhoomAraya/media_set?set=a.10200202699731915.1073741879.1284665341&type=3
“ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานตัวแทนกรุงย่างกุ้ง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของพม่า 5 กลุ่ม ได้แก่
1. Htoo (ทู) Group of Companies เป็นกลุ่มที่มีสายธุรกิจกว่า 50 ประเภท บริษัทในเครือกว่า 100 บริษัท ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน (Air Bagan), ธนาคาร (AGD Bank), โรงแรม (Aureum, Myanmar Treasure & Kandawgyi Palace Hotel), ค้าไม่สัก, เหมือง (หยกและอัญมณี) และ IT/Telecom (Elite Tech) เป็นต้น โครงการใหญ่ที่ Htoo รับผิดชอบ เช่น งานก่อสร้างเมืองเนปีดอร่วมกับกลุ่ม Asia World และโทรศัพท์ 30 ล้านเลขหมาย
2. Max Myanmar Group เป็นกลุ่มที่มีสายธุรกิจหลากหลาย แต่มีชื่อเสียงในธุรกิจก่อสร้าง เช่น ไฮเวย์ต่างๆ และพัฒนาสู่ธุรกิจธนาคาร (Ayeyarwady Bank) โรงแรม (Royal Kumadara) โรงงานปูนซีเมนต์และเทรดดิ้งรถยนต์จากญี่ปุ่น ทาง Max เคยมีหุ้นอยู่ในโครงการท่าเรือทวาย แต่ถอนหุ้นออกมา
3. Kanbawza Group เป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงทางด้านการเงิน โดยธนาคาร KBZ เป็นธนาคารที่มีเครือข่ายสาขามากที่สุด โดยตั้งเป้าที่ 100 สาขาภายในปี 2556 และยังมีธุรกิจเหมือง (หยกและอัญมณี), สายการบิน(Mai & Air KBZ) และก่อสร้าง เป็นต้น KBZ Bank เป็นหนึ่งในสามธนาคารที่เซ็นสัญญากับ Visa ในการรับบัตรผ่านตู้เอทีเอ็ม
4. Asia World Group เป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์ค่อนข้างแนบแน่นกับกลุ่มธุรกิจจากประเทศจีน และมีท่าเรือเป็นของตนเองในย่างกุ้ง (Asia World Port Terminal) โดยเป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงในด้านการก่อสร้าง และเหมือง โครงการใหญ่ที่ Asia World Group รับผิดชอบ เช่น งานก่อสร้างเมืองเนปีดอร่วมกับ กลุ่ม Htoo และงานก่อสร้างเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
5. Yuzana Group เป็นกลุ่มที่เคยมีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจโรมแรมและห้างสรรพสินค้ามาก แต่ปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรเป็นหลัก Yuzana เป็นกลุ่มที่มี Plam Plantation ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองกลุ่มธุรกิจที่มีโรงกลั่นเป็นของตนเอง”
ภาพ: ธนาคารกสิกรไทยเปิดสำนักงานตัวแทน ณ กรุงย่างกุ้ง
ที่มา: ThaiRepublica