Skip to content

ปรากฎการณ์ปาท่องโก๋


โดยปกตินั้น คนชอบนึกว่าคุณภาพดีๆ ต้องแลกกับราคาที่สูงนั้นเป็นพวกสินค้าไฮโซวางขายตามสยามพารากอน หรือ ห้าง Harrods

จริงๆ เราดูของใกล้ๆ ตัวอย่าง “ปาท่องโก๋” ได้

ปรากฎการณ์ปาท่องโก๋ นี่ ผมสังเกตมานานแล้ว สมัยทำงานที่ มช. ก็มักจะแวะซื้อมากินหลังจากทำงานเสร็จแล้วเพราะดึกๆ กินน้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ แล้วหลับสบายดี ทุกคนคงสังเกตว่าขนาดของปาท่องโก๋ลดลงตามกาลเวลาอย่างมีนัยสำคัญ

(เรื่องนี้เอาแบบจำลอง เศรษฐมิติ ARIMA GARCH ทั้งหลายมาจับ ก็จะพบว่ามันมีนัยสำคัญทางสถิติ … แต่จะทำไปทำไมละครับ เห็นๆ กันอยู่ แล้ว ทำไปได้อะไร ?)

ราคามันไม่ค่อยเปลี่ยนนะ… ตัวละบาทตลอดกาล (ไม่น่ากลัวมากเพราะไม่ใช่ตัวระบาด)

แต่ว่าขนาดของ ปาท่องโก๋ที่ลดลง มันมีผลต่อรสชาติ อย่างมาก ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า นี่มันปาท่องท่องโก๋ หรือ เศษแป้งทอดเนี่ย…. (หือ ???) สำหรับผมเอง ไม่ว่าจะยังไงป้า(ที่ขายน้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋) ก็จะได้เงินจากผมประมาณ ครั้งละ 40-50 อยู่แล้ว

แต่หลังๆ ป้ามาขายน้ำเต้าหู้แป้งทอดกรอบแทน … ป้าก็อดละครับ
เจ้าประจำผม (ไม่ขอเอ่ยนาม…) เดี๋ยวนี้ขายไม่ค่อยดี…

ร้านที่ขายน้ำเต้าหู้แป้งทอดกรอบหลายๆ ร้านก็ขายไม่ดี

หรือ อุปสงค์ประชาชาติของน้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ ลดลง
(ต้องเปลี่ยนเป็นปาท่องโก๋ไส้กิมจิ น้ำเต้าหู้ 2PM หรือ SNSD หรือเปล่านะ ?

เกาหลีฟีเวอร์อาจมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมน้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ก็ได้
เป็นหัวข้อ 409 –แบบฝึกหัดการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ของ มช. ได้นะเนี่ย)

ทว่า เมื่อวานผมไปเห็นร้านหนึ่ง ขายปาท่องโก๋ ขนาดพอดี แป้งนุ่มๆ ขายตัวละ สองบาทขายดิบขายดีที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่เพราะร้านที่ขายดีใช้แป้งวิเศษ หรือ ตั้งในทำเลดีอะไรเลย แต่เพราะการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม

ทางโลจิสติกส์ เราจะถามก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร… เท่าไหร่ แบบไหนที่รับได้ แบบไหนที่รับไม่ได้แล้ว

ลูกค้าอยากกินปาท่องโก๋นุ่มๆ อร่อยๆ เป็นหลัก หรือ แป้งอะไรก็ได้ ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ทอดแต่ราคาห้ามเกินชิ้นละบาท?

เงินยี่สิบบาท มีค่าเท่ากับ ปาท่องโก๋นุ่มๆ สิบชิ้น กับ แป้งกรอบอันเล็กๆ ยี่สิบอัน ผมเลือกแบบแรก แล้วก็เห็นหลายๆ คนเลือกแบบเดียวกัน ในทางกลับกัน ป้าฯ ตัองจ่ายเงินจ้างผมนะ ถึงจะยอมกินก้อนแป้งทอดกรอบอมน้ำมันยี่สิบอันให้หมด

ในภาวะแบบนี้ การลดคุณภาพสินค้าไม่ใช่คำตอบเสมอไป บางทีการเพิ่มราคาสินค้าแต่คงคุณภาพ(ที่ลูกค้าต้องการไว้)ต่างหากที่น่าจะเป็นคำตอบ

ทั้งนี้ทั้งนั้นกลับมาสู่วลี อมตะ ของ อ.ลือชัย แห่งเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ว่า

“คุณรู้จักลูกค้าของคุณหรือยัง?”

ที่มา: ปรับปรุงจากบทความที่ลงใน TourismLogistics.com ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552

One Comment Post a comment
  1. นายสุนทร จริตงาม #

    ถุกใจมากครับ เรื่องราคาไม่เกี่ยงแต่ขอให้รักษาคุณภาพไว้เหมือนเดิม

    July 16, 2012

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: