Skip to content

การจัดการโซ่อุปทาน ในออสเตรเลีย


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีนักวิจัยจากออสเตรเลีย Prof.Amrik Sohal (Monash University) เดินทางมาบรรยายเรื่อง  Managing Supply Chains โดยใช้กรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมในประเทศออสเตรเลีย ผมสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้ครับ

อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) 

  • กำลังประสบปัญหาจากการที่ผู้ผลิตได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศ โดยขณะนี้เหลือเพียงสามราย คือ Toyota, Ford และ GM Holden (จากห้าราย) เท่านั้น ทำให้ 1st-tier suppliers ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งในเรื่อง Volume ที่ต่ำทำให้ขาด Economies of scale และ
  • อีกทั้งยังต้องเผชิญความกดดันจากผู้ผลิตดังกล่าวในการลดต้นทุนอีกด้วย
  • นอกจากนี้บริษัทผู้ให้บริการโลจิกติกส์ หรือ Third Party Logistics Providers (3PLs) ก็ไม่มีความน่าเชื่อถือมากนักเนื่องจากยังขาดความชำนาญ
  • ผู้ผลิตยานยนต์ดังกล่าวได้ขยายการให้บริการหลังการขายมากขึ้น ทำให้เพิ่มความกดดันไปยัง 1st-tier suppliers เรื่องคุณภาพของสินค้ามากขึ้น
  • แรงงานขาดแคลนในทุกระดับ  (high & not so high skilled)
  • อนาคตของอุตสาหกรรมยังไม่แน่นอน (ผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตมากขึ้น?)
  • ความท้าทายเรื่อง Servitisation หรือ บริการภิวัฒน์ ของผู้ผลิตรถยนต์ ในการขยายธุรกิจจากการผลิตไปสู่การให้บริการแก่ลูกค้าเป็นรายบุคคลมากขึ้น
  • ความเข้าใจในผลกระทบของอุตสาหกรรมจากปัจจัยต่างๆ ยังไม่ดีพอ
  • ความช่วยเหลือจากภาครัฐยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะด้าน Infrastructure
โซ่อุปทาน อาหารเช้าจากธัญญาพืช หรือ Cereal Supply Chains
  • มีความกังวลด้านต้นทุนขนส่ง และ ระบบขนส่งที่ขาดความเชื่อมโยง ทำให้ต้นทุนสูง และ ระยะเวลาในการขนส่งยาวนาน
  • ระบบรถไฟขาดความเชื่อมโยง ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างสถานีหลัก Victoria-New South Wales-Queensland
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง 2nd-tier suppliers ยังมีน้อย ขาด Collaborations หรือความร่วมมือระหว่างบริษัท
  • ความเชื่อใจระหว่างบริษัท มีความสำคัญในการลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนอันเกิดจากภับธรรมชาติ (ตรงนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นประจำกับโซ่อุปทานสินค้าเกษตรครับ)
  • เสนอแนวทางปรับปรุงโดยการให้ความรู้ และพัฒนาความสามารถในการสื่อสารและทำงานร่วมกันของพนักงาน รวมทั้งการวางกลยุทธ์โซ่อุทาน และพัฒนาการวัดผลการดำเนินงาน

จากการบรรยายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วธุรกิจก็ยังประสบกับปัญหาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่แน่นอนของสินค้าเกษตรที่มีค่อนข้างสูง ในทางกลับกันโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ของธุรกิจในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศและตัวธุรกิจเองก็มีสูงเช่นกัน

ประเทศไทยของเราเองก็ส่งออกสินค้าเกษตรอย่างมากมาย ดังนั้นโลจิสติกส์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015

No comments yet

Leave a comment